วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กระเจี๊ยบแดง ลดความดันโลหิตสูง


    สารพัดประโยชน์ของ "กระเจี๊ยบแดง" (ไทยรัฐ) หนึ่งในสมุนไพรที่คนทั่วไปรู้จักกันดีคงหนีไม่พ้น "กระเจี๊ยบแดง" ว่ามีคุณสมบัติช่วย ลดความดันโลหิตสูง แต่สมุนไพรดี ๆ จะมีคุณสมบัติแค่เพียงอย่างเดียวล่ะหรือ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการใช้กระเจี๊ยบแดงได้อีกมาก ลองมาไล่ดูกันทีละส่วนเลยดีกว่า


- ใบอ่อนและยอด ใช้แต่งรสเปรี้ยว ใส่ต้มหรือแกง
- ผลอ่อน ต้มรับประทานติดต่อกัน 5 - 8 วัน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
- ผลแห้ง ป่นเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ 3 - 4 ครั้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ
- เมล็ด บดเพื่อเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และยาบำรุง
- กลีบเลี้ยงสีแดง ใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วย ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต

    จะเห็นได้ว่าสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเจี๊ยบแดงมีประโยชน์มากมายอย่างที่นึกไม่ถึงมาก่อน อย่างไรเสียโอกาสหน้าก็อย่าลืมคิดถึงสมุนไพรใกล้บ้านรักษาอาการเจ็บป่วย ก่อนที่จะไปเสียตังค์ซื้อยาก็น่าจะดีไม่น้อยเลย

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หมามุ่ย' ไวอากร้าพันธุ์ไทย-บำรุงกำลัง กาแฟหมามุ่ยคั่วบด




สรรพคุณทางยาของหมามุ่ย
         หมามุ่ย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เมล็ดของหมามุ่ย มีคุณสมบัติหลายอย่าง คือ เพิ่มจำนวนสเปิร์มและปริมาณน้ำเชื้อ แก้ปัญหาสภาวะการมีบุตรยาก นำเมล็ดหมามุ่ยมา สกัดเป็นยา บำรุงสมรรถภาพทางเพศเพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ และเป็น สมุนไพรเพิ่มพลังท่านชาย อีกทั้งช่วยในการคลายเครียดและเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ
        ภายในฝักของหมามุ่ยมีเมล็ดลักษณะรูปไข่  มีสารที่มีอิทธิพลต่อระบบสืบพันธุ์ และเป็นสารสื่อประสาทซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน  ในประเทศอินเดีย พบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับหมามุ่ยของไทย ซึ่งปลูกเพื่อนำไปแปรรูปอย่างจริงจัง มีการศึกษา วิจัย อย่างเป็นระบบ กระทั่งสกัดเป็นยา เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ คลายเครียด บำรุงหัวใจ และเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ หมอยาแผนโบราณของไทยใช้รากของหมามุ่ยแก้คัน ถอนพิษ ล้างพิษ เมล็ด ใช้ทั้งกินเมล็ดคั่ว นึ่งกินกับข้าวเหนียว และบดเป็นผง เพื่อบำรุงกำลัง เพิ่มน้ำเชื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

กาแฟหมามุ่ย

        สาเหตุที่หมามุ่ยเป็นที่น่าสนใจอีกประการ เนื่องจากโรคเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การมีลูกยาก ได้ดีด้วย กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย เป็นทางเลือกให้ประชาชนในการรักษาพยาบาล

        พิษของหมามุ่ย อยู่ตรงขนอ่อนที่ปกคลุม เพราะเป็นขนที่เต็มไปด้วยสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า 'สารซีโรโทนิน' (Serotonin) เมื่อโดนจะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ซึ่งฝักจะออกมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง และปลิวตามลม ชาวบ้านทั่วไป เมื่อพบจึงมักทำลายเถ้าหมามุ้ยทิ้ง 

        "ปัจจุบันประชาชนทั่วไปหันมาใช้ยาแผนปัจจุบันของตะวันตกจำนวนมาก ซึ่งหากมีสิ่งที่สามารถลดปริมาณการใช้ยาได้ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งสมุนไพรไทยหลายชนิดสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ และสามารถต่อยอดสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้" 
         ภญ.ผกากรอง ระบุ เภสัชกรชำนาญการ ร.พ.จ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ในอดีต หมอยาแผนโบราณค้นพบวิธีนำหมามุ่ยมาใช้หลากหลายตำรับด้วยกัน โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เม็ด เช่น ใช้รากแก้คัน ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ เม็ด ใช้ทั้งกินเม็ดคั่ว นึ่ง และบด เป็นผง เพื่อบำรุงกำลัง เพิ่มน้ำเชื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ



         การทานเมล็ดหมามุ่ย ต้องคั่วให้สุกเพื่อทำลายสารพิษ และห้ามทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช เด็ก และหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรทาน รวมทั้งผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเบาหวาน เพราะมันจะเสริมฤทธิ์กัน

        เนื่องจาก อย.ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้หมามุ่ยเป็นยาแผนโบราณหรือเป็นอาหารเสริมได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันประชาชนเอาหมามุ่ยไปใช้ในทางที่ผิดซึ่งอาจจะเกิดผลเสียได้ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรเคยเปิดอบรมการเอาหมามุ่ยมาประกอบในอาหาร เช่น คุกกี้หมามุ่ย หรือนำเมล็ดที่นึ่งหรือคั่วสุกแล้ว บดผสมกับนมหรือกาแฟ ชงดื่มในปริมาณ 1 ช้อนชาต่อ 1 ถ้วยกาแฟ ซึ่งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ ยังได้นำกาแฟสมุนไพรหมามุ่ย ประมาณ 200 แก้ว บริการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก และเจ้าหน้าที่ประจำรัฐสภา ระหว่างแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เพื่อสนับสนุนการใช้สมุนไพรไทยด้วย 

มหัศจรรย์'หมามุ่ย' ไวอากร้าพันธุ์ไทย-บำรุงกำลัง



         หมามุ้ย  หรือ หมามุ่ย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens DC. เป็นพืชเถาซึ่งมีขนคันจากฝัก เมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน เนื่องจากขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ serotonin และมีสารคล้าย histamine การเกิดพิษ ขนเมื่อถูกสัมผัส จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง

         ลัษณะทั่วไป ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน โคนใบอาจมีทั้งมน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ด ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่นี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษ ปลายยอดของขนจะแตกออก และฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและปวดแสบปวดร้อน


         การรักษา รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือข้าวเหนียวคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายๆ ครั้งจนหมด หากยังมีอาการแดงร้อนหรือคันอยู่ให้ทาคาลาไมน์โลชั่น หรือครีมสเตียรอยด์ พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน 4 มก. ครั้งละ 1 เม็ดทุก 6 ชม. จนเป็นปกติ

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554


ว่านสบู่เลือดหรือบอระเพ็ดพุงช้าง
            เป็นไม้เถาขนาดกลาง เลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่หัวทรงกลม ชนิดตัวผู้ ใบสีเขียวอมแดง, ยาวสีแดงเข้ม, หัวโตเท่ากะละมัง หัวมีทุกขนาด ตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ถึง 100 กิโลกรัม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณว่านสบู่เลือดหรือบอระเพ็ดพุงช้าง
           รักษาโรคมะเร็งภายในต่างๆ โรคเบาหวาน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกายให้แข็งแรงขับผายลม เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ แก้แสมหะเบื้องต้น บำรุงความกำหนัด บำรุงกำลังให้แข็งแรงขับผายลม เจริญอาหาร

ลักษณะว่านสบู่เลือด
             ว่านสบู่เลือด เป็นไม้เถาเลื้อย มีหัวขนาดใหญ่ 2 ชนิด มีด้วยกันคือ ตัวผู้กับตัวเมีย ตัวผู้หัวจะมีลักษณะยาวคล้ายหัวมันสำปะหลัง ตัวเมียหัวกลม นิยมใช้ตัวเมียมากกว่าตัวผู้ มียางสีแดงที่หัวเหมือนกัน ใบรูปกลม มีหยักที่ขอบตื้น เมื่อเด็ดไปจะมียางสีส้มจาง จึงถูกเรียก ชื่อตามสีของยางว่า “ว่านสบู่เลือด” พบขึ้นตามป่าบนเขาทุกภาคของประเทศไทย